ม.นเรศวร เปิดโครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ระบบรับตรง (โควตา) #TCAS61

ม.นเรศวร เปิดโครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ระบบรับตรง (โควตา) #TCAS61 เปิดรับสมัครทั้งหมด 2 แบบในปีนี้สำหรับโครงการ ระบบรับตรง (โควตา) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน หรือ (Community Track) และ กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ  หรือ (Inclusive Track) เรียกกันย่อ ๆ ว่า CPIRD 

สำหรับน้อง ๆ รุ่น 61 ที่จะสอบเข้าโครงการ โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ทั้ง 2 โครงงการนี้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรและต้องใช้คณะ GAT PAT เท่าไหร่เราไปดูกันเลย

ม.นเรศวร เปิดโครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ระบบรับตรง (โควตา) #TCAS61

จำนวนรับทั้งหมด  90 คน แบ่งเป็น

กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (CPIRD: Community Track) 70 คน

กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (CPIRD: Inclusive Track) 20 คน

ม.นเรศวร เปิดโครงการผลิตแพทย์เพิ่มฯ ระบบรับตรง (โควตา) #TCAS61

คะแนนที่ใช้ 

– ใช้ GPA 5 ภาคเรียน ค่าน้ำหนัก 10 % เกณฑ์ขั้นต่ำ 30 %
– ใช้ GAT ค่าน้ำหนัก 20 % เกณฑ์ขั้นต่ำ 30 %
– ใช้ PAT 71 ค่าน้ำหนัก 10 % เกณฑ์ขั้นต่ำ 30 %
– ใช้ PAT 72 ค่าน้ำหนัก 30 % เกณฑ์ขั้นต่ำ 30 %
– ใช้วิชาเฉาพะของ กสพท. ค่าน้ำหนัก 30 % เกณฑ์ขั้นต่ำ 30 %
–  ทั้งนี้ คะแนนแต่ละวิชาต้องได้ไม่น้อยกว่า 30% และ คะแนนรวมทุกรายวิชาตามสัดส่วนที่กำหนดต้องได้ ไม่น้อยกว่า 40%

คุณสมบัติเฉพาะหลัก ๆ

กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (CPIRD: Community Track)

– ผู้สมัครต้องมีภูมิลําเนา และบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมี ภูมิลําเนาอยู่ใน 6 จังหวัด (พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์) ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี จนถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร โดยมีทะเบียนบ้านเป็นหลักฐาน (หากบิดาหรือมารดาที่เป็นข้าราชการ ต้องโยกย้ายให้มีเอกสารยืนยันการโยกย้าย)

– เป็นนักเรียนที่สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 โดยกําลังศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลําปาง ลําพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ กําแพงเพชร อุทัยธานี

กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (CPIRD: Inclusive Track)

– ผู้สมัครต้องมีภูมิลําเนา และบิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมี ภูมิลําเนาอยู่ใน 6 จังหวัด (พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์) ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี จนถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร โดยมีทะเบียนบ้านเป็นหลักฐาน (หากบิดาหรือมารดาที่เป็นข้าราชการ ต้องโยกย้ายให้มีเอกสารยืนยันการโยกย้าย) และต้องไม่อยู่ในเขตอําเภอเมือง ยกเว้นจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดตาก หากไม่สามารถรับนักเรียนที่มีภูมิลําเนานอกเขตอําเภอเมืองได้ครบตามจํานวนที่กําหนด สามารถรับนักเรียนที่มีภูมิลําเนาในเขตอําเภอเมืองของ 2 จังหวัดดังกล่าวได้

– เป็นนักเรียนที่สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 โดยกําลังศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน 6 จังหวัด (พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์)

ราายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมดูได้ที่กองบริการการศึกษาครับ หรือลิ้งนี้ >>>คลิก<<<

ผู้ที่สมัครสอบ คัดเลือกเข้าศึกษาในระบบรับตรง (โควตา) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่ง ประเทศไทย แล้วจะไม่สามารถสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระบบรับตรง (โควตา) ของคณะอื่นได้

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก กองบริการการศึกษา

ภาพ cover ประกอบ  Designed by snowing / Freepik